วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

รีวิวหนัง Hector & the Search for Happiness :ค้นหา ความสุข กับ ความเป็นส่วนตัว (ไทยไพรเวซี่ by คณาธิป)



Hector & the Search for Happiness





หนังอังกฤษที่หาดูยาก ( ในความหมายที่ว่า หาดูในโรง ณ ตอนนี้ เพราะเข้าไม่กี่โรง )  มาจากหนังสือชื่อเดียวกันกับชื่อหนังนั่นเอง 

(หนังสือเขียนโดย เป็นชุด การเดินทางของเฮกเตอร์ ยังมีเล่มอื่นๆ เช่น Hector and the Secrets of love , the Search for lost time ..) 

สำหรับเรื่องนี้  เป็นเรื่องราวชีวิตของจิตแพทย์คนหนึ่ง ชื่อ เฮกเตอร์  (Simon Pegg ) ซึ่งวันๆก็นั่งรับฟังปัญหาของคนไข้ ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนแต่มาหาด้วยความทุกข์ ความเศร้า ความเครียด รูปแบบต่างๆกัน 

จนจิตแพทย์ผู้นี้ก็คงซึมซับความเครียดไว้มากเรื่องยๆ จนถึงกับ หลุด ตวาดใส่คนไข้เข้าไปบ้าง

แกก็มาคิดได้ ว่าตัวเองก็คงไม่มีความสุขเหมือนกัน แล้วก็เกิดการคิดวนเวียนไปมา จะทำยังไงให้คนไข้มีความสุข แล้วความสุขคืออะไร 


                สุดท้าย แกก็ออกเดินทางไปในโลกกว้าง เพื่อตามหา ความสุข 

เป็นพล็อตเรื่องที่ไม่แปลกอะไร ไม่ได้มีอะไรผิดคาดหมายมาก  

แนวเรื่องแบบนี้หากจะเทียบก็คงคล้ายๆ หนังสองปีที่แล้วอย่าง  The Secret life of Walter Mitty   ในแง่ที่ว่าเป็นการออกเดินทางไปค้นพบบางสิ่งอย่างที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อชีวิตของตัวละคร   ต่างกันก็คงตรงที่ว่า การเดินทางของเฮกเตอร์อาจจะไม่มีสีสันตื่นเต้นเท่ากับเรื่อง The secret life  ซักเท่าไร 

จุดเด่นของเรื่องที่เป็นกิมมิค น่ารัก น่าสนใจ น่าคิด ก็คือ เฮกเตอร์ผู้นี้ จะนำสมุดบันทึกติดตัวไป

ซึ่ง จริงๆแล้ว เฮกเตอร์ ก็ไม่ได้ตั้งใจถือไปหรอก แต่นางเอก
แอบเอาใส่กระเป๋าเดินทางมาให้พร้อมติดรูปตัวเองทำปากจู๋ตลกๆ มาด้วย  เพื่อให้จดประเด็นความสุขเอาไว้ 

 (นางเอกก็คือ Rosamund Pike ที่เล่นเรื่อง Gone girl ที่ไทยไพรเวซี่ก็ได้ริวิวไปแล้ว เธอพลิกผันจากบทสุดสยองใน gone girl มาเป็นสาวที่มากมายไปด้วยอารมณ์ใสซื่อและเปี่ยมไปด้วยอารมณ์อ่อนไหว ในเรื่องนี้ )

การถือสมุดบันทึกและปากกา ก็เป็นอะไรที่ดูแล้วฟิลกูด   คงเพราะสมัยนี้พูดได้ว่าเป็นอะไรที่คลาสสิคมากๆ ในการที่ผู้คนจะถือสมุดและปากกาติดตัวไปจดไอเดียอะไรประจำวัน

เฮกเตอร์ แกก็เดินทางไปจีนก่อน ตามด้วยแอฟริกา เพื่อตามหา ความสุข  พอเจอเหตุการณ์อะไรมากระทบทำให้คิดถึงประเด็นความสุข ก็จดเป็นข้อคิดลงสมุดไปด้วย รวมๆแล้ว มีหลายข้อ เช่น





ข้อแรกเลย   “ Making comparisons can spoil your happiness” 
                น่าจะสำคัญมากๆด้วย  คนเราพอมีความสุข แต่พอเปรียบเทียบกับคนอื่น ขนาดความสุขของเรามันอาจ หดเล็กจนหายไปได้ 


ข้อต่อมา  . A lot of people think  happiness is being rich or important.
คนส่วนใหญ่คิดว่า ความสุขคือความร่ำรวย หรือ การเป็นคนสำคัญ 
ถ้าไม่ใช่แล้วอะไรกันล่ะ น่าคิดต่อไป


อีกข้อ 
Many people see happiness only in their future”
นี่ก็จริง  บางคนทนทรมานวันนี้ เพื่อที่ วันข้างหน้า จะมีความสุข แล้ววันข้างหน้าอยู่ที่ไหนล่ะ
นักธุรกิจผู้มั่งคั่งที่เฮกเตอร์เจอบนเครื่องบินตอนไปเมืองจีน ก็บอกว่าจะหาเงินอีก 20 ล้านแล้วจะรีไทร์แล้ว และแกก็บอกอีกว่าพูดอย่างนี้เรื่อยมาก็เลิกไม่ได้ซักที


อีกข้อ
Happiness could be the freedom to love more than one woman at the same time.
(เมื่อเฮกเตอร์ไปหลงรักสาวหมวยที่ตามเขากลับมานอนเล่นด้วยยังห้องพักโรงแรม)


ข้อต่อเนื่องกันมา
Sometimes happiness is not knowing the whole story”
(เมื่อเฮกเตอร์พบว่า สาวหมวยคนนั้นถูกผู้ดูแลสถานบริการมาตามตัวกลับไป )



และก็มาถึงข้อนี้ . Sweet Potato Stew!

ข้อนี้ เรียบง่าย แต่ลึกซึ้งมาก  อ่านเฉยๆไม่ได้ดูหนังหรือหนังสือมาก่อน  จะไม่รู้เลยว่าข้อนี้คืออะไร 

เฮกเตอร์เจอสาวชาวแอฟริกันบนเครื่อง ผ่านเหตุการณ์ชวนสยองขณะเครื่องบินอยู่  ก็คุยกันว่าถ้ารอดลงพื้นมาได้เธอจะเลี้ยงสตูว์มันฝรั่ง  แล้วทั้งสองก็รอดและได้กินสตูว์มันฝรั่งจริงๆ

ไทยไพรเวซี่ตีความว่า Sweet Potato Stew! ก็คือ  ความสุขที่ไม่มีเงื่อนไขอะไรมาก แค่รอดชีวิต มีอาหารธรรมดาๆกิน ก็มีความสุขได้แล้ว 

ซึ่งข้อนี้ก็โยงไปกับข้ออื่นๆ อย่าง  “Happiness is feeling completely alive”
ขอแค่มีชีวิต ก็มีความสุขได้


Sweet Potato Stew!  โยงไปถึงประเด็นไพรเวซี  ที่ไทยไพรเวซี่สังเกตเห็นในหนัง

เหตุเกิดเมื่อขากลับจากกินสตูว์    เฮกเตอร์ก็ถูกโจรจับไป และโยนเข้าห้องขังโทรมๆที่มีแต่เขาและหนูอ้วนๆตัวหนึ่งเป็นเพื่อน

ประเด็นไพรเวซี่ก็เห็นอยู่ตรงนี้เอง
เป็นประเด็นเรียบๆง่ายๆ 

ขณะเฮกเตอร์นอนครุ่นคิด เรื่องต่างๆอยู่ในห้องขัง  หนูก็ร้องจิ๊ดๆจ๊าดๆของมันเข้ามา

เฮกเตอร์ก็บอกกับหนูว่า ต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่  หนูก็รู้เรื่องด้วย เป็นมุขที่น่ารักดี
แต่ก็น่าคิด 

1.       ความเป็นส่วนตัวในจุดนี้ก็คือ ความสันโดษทางกายภาพที่จะไม่ให้ใครมายุ่งเกี่ยว  ซึ่งจะนำไปสู่มิติทางความคิดและจิตใจ เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมสงบเงียบแล้ว   ความคิดจิตใจก็จะทำงานได้ดีขึ้น 

2.       ความเป็นส่วนตัว  เท่าที่เราเห็นกันทั่วไป ก็คือการยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อต่อต้านการแทรกแซง สอดแทรก ก้าวก่าย ที่กระทำโดยมนุษย์ด้วยกัน 

 ไม่ว่ามนุษย์นั้นจะเป็นผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างเช่น ผู้ใช้อำนาจรัฐ หรือ มนุษย์ที่อยู่ในฐานะเท่าเทียมกันอย่างประชาชนทั่วไป 

แต่นอกจากมนุษย์  สรรพสิ่งอื่น ก็อาจรบกวนความเป็นส่วนตัวได้ เช่น สัตว์ 

ดังนั้น หากมนุษย์ถูกกฎหมายใดมาจำกัดสิทธิในการต่อต้าน สิ่งที่มารบกวนความเป็นส่วนตัว  ก็ถือได้ว่ากฎหมายนั้นเป็นข้อยกเว้นอีกอันหนึ่งของสิทธิส่วนตัว  

พูดมาถึงตรงนี้ก็นึกถึง พรบ ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์  ที่น่าคิดในแง่ความเป็นส่วนตัวจากมุมมองนี้



อีกฉากหนึ่ง ซึ่งสะท้อนประเด็น ความเป็นส่วนตัว แบบเรียบง่าย 



เฮกเตอร์ อยู่แอฟริกา  ก็ใช้คอม PC คุยสไกป์ กับ นางเอก

  นางเอกกำลังแต่งตัว เพิ่งจะออกจากห้องน้ำ

เฮกเตอร์ก็คงกำลังมองนางเอกอยู่ ไม่รู้ว่าข้างหลังมีเด็กแอฟริกามร่วมชุมนุมรุมดูนางเอกด้วย

   แต่ฝ่ายนางเอกมองเห็น ก็เลยทำเป็นตีก้นตัวเอง เฮกเตอร์ก็เลยรู้ว่ามีประชาชนมามุงดูด้านหลังจำนวนมาก 

เป็นการ แอบดู สอดส่องความเป็นส่วนตัวของการสนทนา  ที่เรียบง่าย คลาสสิค  ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรซับซ้อนเลย 

การป้องกันก็เรียบง่าย แค่หันซ้ายหันขวาดูรอบเครื่อง PC   ไม่มีใครมาแอบส่องอยู่หลังเครื่องก็โอแล้ว




ดูเรื่องนี้แล้ว มาคิดถึงเรื่องสิทธิส่วนบุคคล 

เกิดคำถามว่า
มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลของเราหรือไม่ ที่จะ มีความสุข หรือ ไม่มีความสุข


ที่สำคัญ

สิทธิส่วนบุคคล มันมีสถานะ อย่างไรกันแน่
การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของมัน เป็นอย่างไร
หากเปรียบเทียบกับ  ความสุข  ที่ผู้คนแสวงหา ในเรื่องนี้



?


ก็มาได้แง่คิด   ตอนท้ายเรื่อง
เฮกเตอร์จะกลับบ้านแล้ว อยู่สนามบิน

ก็วีดีโอแชทไปหาพระจีนที่เจอกันบนภูเขาหิมะ   ก็จะสรุปกันว่าความสุขคืออะไรแน่ 


...เฮกเตอร์บอกว่า   ความสุขก็คือ คนทุกคนมีความสามารถ (Capacity ) ที่จะมีความสุข

...พระจีนบอก  ไม่ใช่ มัน มากกว่านั้น

....เฮกเตอร์บอก  งั้นก็  คนทุกคน มีสิทธิ (right) ที่จะมีความสุขล่ะสิ

....พระจีนก็บอก ยังไม่ใช่ มันมากกว่านั้น

....ทีนี้ เฮกเตอร์บอก อืมม ทุกคน มีหน้าที่ (Obligation) ที่จะมีความสุข

...พระจีนยิ้มอย่างมีความสุขพร้อมพนมมือ


เลยเกิดความคิด


ถ้าเรามองเป็น สิทธิ   เมื่อมันเป็นสิทธิ เราอาจจะใช้ก็ได้ หรือไม่ใช่ก็ได้ เพราะมันเป็นสิทธิของเรา
 
แต่ ถ้าเป็น หน้าที่  นี่เราต้องปฏิบัติ 

เพียงแต่ หน้าที่ มีความสุข มันไม่ได้เกิดจากกฎหมายหรือใครมาบังคับ

มันเป็นหน้าที่ตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่จะมีความสุขอยู่แล้ว

อาจกล่าวได้ว่า คนเราเกิดมาพร้อมความสุข

แต่ปัจจัยปรุงแต่งภายนอก เรื่องราวต่างๆ ในสังคม มันสร้างเงื่อนไขให้เราสูญเสียความสุขไป




อย่างที่ ในหนังมีฉาก Professor  ผู้เชี่ยวชาญศึกษาด้านสมอง  บอกว่า

“How many of us can recall a moment when we experience happiness as a state of being”

ความสุข ก็เพียงแค่  การดำรงอยู่ การมีชีวิตอยู่  ก็คือความสุขแล้ว แค่นั้นเอง


เช่นเดียวกัน สิทธิส่วนบุคคลหรือไพรเวซี

มันก็มีมาพร้อมกับเราทุกคนตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว

แต่ปัจจัยอะไรบางอย่างภายนอก (กฎหมายก็เป็นอย่างหนึ่ง )  มาจำกัด ให้มันน้อยลงไป

จนเราต้องมาเรียกร้องกัน  (ให้มีกฎหมายอีกอันหนึ่ง มาลดทอนผลของกฎหมายอันที่มาจำกัดข้างต้น)

ซึ่งจะว่า ไปสิ่งที่เราเรียกร้องกันนี้ มันก็มีของมันติดตัวเรามาแต่แรกอยู่แล้วนั่นเอง


............. คนเรา ทำของเรียบง่าย ให้มันซับซ้อน 

แล้วก็ยังสร้างกระบวนการซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อโหยหากลับไปสู่จุดเดิมนั้นเอง.........