วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คณาธิป ทองรวีวงศ์ ร่วมเสวนา : ดูหนังและเสวนาว่าด้วยความเป็นส่วนตัว 1 : Minority Report จัดโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต 22 สค 58

 ดูหนังและเสวนาว่าด้วยความเป็นส่วนตัว" (1) | Minority Report

  

 เป็นการเสวนาพูดคุย วิเคราะห์ประเด็น ความเห็นจากภาพยนตร์ Minority Report   

 เสาร์ที่ 22 สิงหาคม เวลา 13.00-17.00 น. ณ The Jam Factory คลองสาน

จัดโดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต


วิทยากรหลัก

- มิ่ง ปัญหา ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 


- คณาธิป ทองรวีวงศ์ นักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล


พิธีกร พินดา พิสิฐบุตร

*****************


สรุปย่อ

ปี 2054 อเมริกามีอัตราการเกิดอาชญากรรมเป็นศูนย์ จากปฏิบัติการของหน่วยพรีไครม์ (PreCrime)  และเทคโนโลยีพรีคอกส์ (PreCogs) ซึ่งทำให้มองเห็นเหตุการณ์ในอนาคตว่า ใครจะก่ออาชญากรรมอะไร   และส่งหน่วยทีมงานไปสกัดกั้นไว้ก่อน  ในหลายกรณีก็คือจับกุมผู้กระทำไว้ก่อน ขณะที่ยังไม่ได้กระทำอะไรเลย ขณะถูกจับกุม 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นเกี่ยวข้องกับ privacy อีกหลายอย่าง เช่นแมงมุมสอดแนม  การระบุเจาะจงตัวบุคคลและเก็บข้อมูลจากบุคคลโดยการสแกนม่านตาอย่างลึกซึ้งกว่าที่เคยเห็นและพบอยู่ในปัจจุบัน


******











ในการนี้ ผู้สื่อข่าว TV 24  ให้ความสนใจสัมภาษณ์

ประเด็น ความเป็นส่วนตัวในสังคมออนไลน์















คณาธิป ได้ชี้ให้เห็นประเด็นหลักๆที่น่าสนใจคือ



         ลองนำ "Precrime" จากในหนัง มาเทียบกับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน


     ตามกฎหมายที่เป็นอยู่  ขั้นตอนการกระทำความผิดทางอาญาที่กฎหมายกำหนดโทษ   จะต้องมีการจำแนกความแตกต่างระหว่างขั้นตอนต่างๆ คือ

                      การคิด ตกลงใจ ตระเตรียม ลงมือ

                 
โดยทั่วไปแล้ว ต้องถึงขั้น "ลงมือ" จึงเป็นความผิด  หากลงมือแล้วไม่สำเร็จ ก็จะเป็น "พยายาม" ซึ่งก็เป็นความผิดเหมือนกันแต่จะมีโทษน้อยกว่า 



        มีเพียงบางฐานความผิดเท่านั้นที่ กำหนดลงโทษในขั้น "ตระเตรียม"  
         แต่ไม่มีฐานความผิดใดเลยที่จะลงโทษได้ถึงขั้น "คิด"  "ตกลงใจ"    ซึ่ง "Precrime" แบบในหนังสามารถจับกุมได้ ณ ขั้นตอนนี้เลย ซึ่งกฎหมายปัจจุบันยังไปไม่ถึงขั้นนี้     

         ดังนั้น ประเด็นที่ว่า การจับคนขณะ "ยังไม่กระทำผิดเลย"  แต่จากเทคโนโลยีสามารถ "คาด" หรือเล็งเห็นเหตุการณ์ในอนาคตได้ แบบ precrime อย่างเช่นในหนัง   โดยทั่วไปก็คือยังทำไม่ได้  


        แต่ถ้าขบคิดต่อไป  จากในหนังเรื่องนี้ เราอาจยกตัวอย่าง กรณีของเทคโนโลยีและกฎหมายปัจจุบัน ที่อาจถือว่า "ใกล้เคียง" กับ precrime  3   กรณีตัวอย่าง

 
กรณีแรก

 การวิเคราะห์คาดการณ์หรือทำนายอาชญากรรมโดยใช้ฐานข้อมูล 

(Predicative analysis) 



เช่น กรณี ซอฟท์แวร์บางยี่ห้อในอเมริกาที่มีตำรวจนำไปใช้ในการ วิเคราะห์ว่า อาชญากรรมน่าจะเกิดขึ้น ณ จุดใด  โดยอาศัยข้อมูลการเกิดอาชญากรรมที่ผ่านมา
กรณีนี้สรุปได้ว่า 

1.   predictive analysis
ทำนาย หรือคาดการณ์ โดยใช้ข้อมูล pattern การก่ออาชญากรรม
โดยไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของอาชญากรมาวิเคราะห์ 
 เช่น  เอาข้อมูลว่า รถจะหายในพื้่นที่ไหน เวลาไหน ในสถานการณ์แบบไหน มาวิเคราะห์


2.  preventive method


ทำให้จัดวางกำลังตำรวจเตรียมไว้ ณ จุดที่คาดว่า จะมีอาชญากรรม


แต่  ไม่ใช่จับกุม ก่อน ลงมือทำผิดแบบใน precrime

กรณีนี้เห็นว่า ยังไม่มีการกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล เพราะไม่เอาข้อมูล อาชญากรมาวิเคราะห์

กรณีที่ 2
กรณีที่เกิดในชิคาโก
มีการจัดกลุ่มบุคคลไว้ในบัญชีที่เรียกว่า  Heat list   หรือกลุ่มถูกจับตาพิเศษ  
โดยนำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ เช่น การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับเพื่อนใน social media 
ความสัมพันธ์กับญาติ   ประวัติอาชญากรรมของคนนั้นและของคนที่เขาเกี่ยวข้อง
  กรณีนี้จะเห็นได้ว่า
     1. เป็นการวิเคราะห์ ทำนาย  (predictive analysis)
โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคล  ข้อมูลแวดล้อมของบุคคล


2. เป็นการป้องกัน  (preventive method)
เช่น การจัดวางกำลังเจ้าหน้าที จับตาบุคคล "ต้องสงสัย"
แต่ยังไม่ถึงขนาด จับกุม บุคคลนั้น 
เพราะอย่างน้อยเขาก็ยังไม่ได้ ลงมือ กระทำผิดอาญา

กรณีนี้เห็นว่า เริ่มมีการกระทบข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิส่วนบุคคล
 เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับคนอื่นๆในสังคม  เป็นการประมวลข้อมูลที่อาจกระทบเรื่องส่วนบุคคลและข้อมูลละเอียดอ่อนได้ 

 กรณีที่ 3 

กรณีข้อเสนอกฎหมายของมลรัฐ Pennsylvania
 จากบทความ "Precrime  in the real world???


 Pennsylvania to Become First State to Use “Precrime” Statistics in Criminal Sentencing"

Michael Krieger : http://libertyblitzkrieg.com

กรณีนี้ เป็นข้อเสนอที่จะนำ ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ทำผิด ซึ่งเป็นปัจจัยแนวโน้มการกระทำผิดของเขาในอนาคต มาประกอบการ ประเมินความเสี่ยง "Risk Assessment" เพื่อการกำหนดโทษเขา ในคดีที่เขาทำขึ้นมาแล้วในปัจจุบัน

เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว เมื่อบุคคลใดกระทำผิดขึ้นสักฐานหนึ่ง 
ศาลมีดุลพินิจภายใต้กรอบกฎหมายว่า สามารถลงโทษได้สูงสุดเท่าไร 
ข้อเสนอข้างต้น พยายามเข้ามาวางแนวทางหรือหลักทฤษฎีของการใช้ดุลพินิจอันนี้  ว่าสามารถนำปัจจัยความเสี่ยงว่า คนๆนั้น อาจทำผิดหรือมีความเสี่ยงมากแค่ไหน ในอนาคต
ถ้าเขามีความเสี่ยงสูง  ศาลก็อาจลงโทษเขามากขึ้น สำหรับคดีนี้
ถ้าเขามีความเสี่ยงต่ำ ศาลก็อาจลงโทษเขาเบาลง สำหรับคดีนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังไม่ถึงขั้น precrime แบบในหนัง
คือยังไม่ได้ จับ หรือ ลงโทษ เขา สำหรับความผิด ในอนาคต ที่เขายังไม่ก่อขึ้น
เพียงแต่ นำกำหนดโทษในคดีที่เขาก่อขึ้นแล้ว โดยนำปัจจัยความน่าจะเป็นสำหรับเขาในอนาคต มาพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ คณาธิป ก็ยังได้ชี้ให้เห็นประเด็นจากหนังที่สำคัญอีกประเด็นคือ

จากประเด็นในหนัง  ที่ ป้ายโฆษณา  สแกนม่านตาคนแล้ว สามารถระบุตัว รู้ข้อมูลการซื้อของหรือพฤติกรรมบริโภคของเขา  อันนี้ก็เป็นประเด็น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่กระทบสิทธิส่วนบุคคลอีกอัน ที่ เกิดขึ้นแล้วในระดับหนึ่ง  
ถึงแม้ยังไม่ใช่ แสกนม่านตา  แต่การรู้จักผ่านทาง application ที่คนใช้กันทั่วไปบนโทรศัพท์เคลื่อนที่  หรือการรู้จักจดจำข้อมูลจากเทคโนโลยี Ibeacon ที่รู้จักและทักทายเราบนพื้นฐานของ "location"  ก็ทำให้การเข้าถึงตัวเราโดยผู้ประกอบธุรกิจต่างๆ  เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบัน